น้ำมันหล่อลื่นสำหรับงานอุตสาหกรรม
เครื่องจักรสมัยใหม่ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมส่วนมากมีกำลังขับสูง รับแรงกดสูง หรือมีอุณหภูมิการทำงานสูง และในบางครั้งก็ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีการหยุดพักเป็นเวลานาน ดังนั้นเครื่องจักรเหล่านี้จึงจำเป็นต้องหล่อลื่นด้วยน้ำมันที่มีคุณภาพถูกต้อง เพื่อช่วยลดความเสียดทาน ป้องกันการศึกหรอ การกัดกร่อน ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรกลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และการใช้ผลิตภัณฑ์การหล่อลื่นที่ถูกต้องจะช่วยลดความสิ้นเปลืองในการซ่อมบำรุรักษา ช่วยเพิ่มผลผลิตและประหยัดค่าใช้จ่ายได้
ลักษณะงานอุตสากรรมที่ใช้การหล่อลื่น ลักษณะของเครื่องจักรกลที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่มีการหล่อลื่นอาจแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- น้ำมันหล่อลื่นทั่วไป แบ่งออกเป็น
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล
- น้ำมันเกียร์ในงานอุตสาหกรรม
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องอัดลม
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องมืออัดลม
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องทำความเย็น
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องกังหัน
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรสิ่งทอ
- น้ำมันหล่อลื่นลูกหีบโรงงานน้ำตาล
- น้ำมันหล่อลื่นกระบอกสูบเครื่องจักรไอน้ำ
- น้ำมันไฮดรอลิก
- น้ำมันแบริ่ง
- ผลิตภัณฑ์พิเศษอื่นๆ แบ่งออกเป็น
- ผลิตภัณฑ์ป้องกันสนิม
- น้ำมันถ่ายเทความร้อน (heat transfer)
- น้ำมันหม้อแปลงไฟ
- น้ำมันทาแบบคอนกรีต
- น้ำมันขาว (white oils)
- น้ำมันผสมยาง
- น้ำมันฟอกปอ
- ผลิตภัณฑ์สำหรับงานช่างโลหะ แบ่งออกเป็น
- น้ำมันตัดโลหะ (น้ำมันและแบบน้ำมันผสมน้ำ)
- น้ำมันรีดโลหะด้วยลูกกลิ้ง
- น้ำมันดึงยืดโลหะ และพิมพ์ให้เป็นรูป
- น้ำมันชุบเหล็ก
- ผลิคภัณฑ์ประเภทจาระบี
การแยกประเภทน้ำมันหล่อลื่นสำหรับงานอุตสาหกรรม น้ำมันหล่อลื่นสำหรับงานอุตสาหกรรมมีการแยกประเภทโดยอาศัยคุณสมบัติของช่วงความข้นใสของน้ำมัน มีอยู่หลายระบบด้วยกัน เข่น ASTM, BSI, AGMA, DIN เป็นต้น
ระบบต่างๆ เหล่านี้ใช้หน่วยความข้นใสต่างกัน และวัดที่อุณหภูมิต่างกันด้วย ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการใช้เมื่อเปลี่ยนน้ำมันต่างระบบมาใช้ ดังนั้นองค็การระหว่าประเทศที่ว่าด้วยการมาตรฐาน ISO จึงได้กำหนดระบบสากลสำหรับน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมขึ้นมา โดยใช้หน่วยความข้นใสเป็นดซนติสโตก (cSt, centistokes) วัดที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นมาตรฐาน และเป็นที่คาดหมายว่าต่อไประบบ ISO จะเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
มาตรฐานความข้นใสของน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมตามระบบ ISO-VG (International Organization for Standardization-Viscosity Grades) เป็นความข้นใสในระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยระบุความข้นใสเป็นเซนติสโตก (cSt) ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส โดยเริ่มตั้งแต่ความข้นใสที่ 2 เซนติสโตกไปจนถึง 1500 เซนติสโตก และครอบคลุมจากน้ำมันก๊าดจนถึงน้ำมันกระบอกสูบ ซึ่งแต่ละเกรดจะมีค่าความข้นใสอย่ในช่วง ± 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าเฉลี่ย (mid. Point) และในระบบนี้ใช้สำหรับน้ำมันหล่อลื่นในงานอุตสาหกรรมเท่านั้น สำหรับ ISO-VG 6 เบอร์หลัก คือเบอร์ 10, 15, 22, 32, 46, 68 ส่วนที่เหลือเป็น 10 เท่าของเบอร์หลัก และช่วงความข้นใสของน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมมักพบอยู่ในช่วงระหว่างเบอร์ 30-1000
การแยกความข้นใสตามระบบ ISO นี้ พบว่าน้ำมันหล่อลื่นบางชนิดจะมีความข้นใสสูงกว่าเบอร์ 1500 ซึ่งได้แก่ เบอร์ 2200 เซนติสโตกที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยระหว่าง 1980 2420 เวนติสโตก สำหรับน้ำมันที่มีความขิ้นใสสูงๆ จะใช้สัญลักษณ์ K แทน 1000 เช่น น้ำมันที่มีความข้นใส 5K หมายถึงน้ำมันนั้นจะมีค่าความข้นใส 5000 เซนติสโตกที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นต้น |